วิธีป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับที่ดิน

วิธีป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับที่ดิน

–  เก็บรักษาโฉนดที่ดิน , น.ส.3 , น.ส.3 ก. , น.ส.3 ข. ไว้ในที่ปลอดภัย  ไม่มอบโฉนดที่ดิน ,

         น.ส.3น.ส.3 ก. , น.ส.3 ข. ให้กับผู้อื่น

–   –  ควรติดต่อขอตรวจสอบหลักฐานที่ดินที่สำนักงานที่ดินเป็นครั้งคราว

     –  ก่อนจะซื้อ ซื้อฝากหรือรับจำนอง ควรไปตรวจสอบที่ดินให้ถูกต้องแน่นอน  ถ้าสงสัยให้ไปขอ

   ตรวจสอบหลักฐานที่ดินที่สำนักงานที่ดินเสียก่อน

–   –  การซื้อที่ดินจัดสรรควรซื้อจากผู้มีใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินเท่านั้น

–   –  อย่าเชื่อถือนายหน้า อาจถูกหลอกได้

–   –  ถ้าที่ดินอยู่ห่างไกล หมั่นไปตรวจสอบ ถ้ามีผู้บุกรุกให้รีบดำเนินการให้เรียบร้อยโดยเร็ว

–   –  อย่าทำสัญญากู้เงินกันเองแล้วมอบโฉนดที่ดิน , น.ส.3 , น.ส.3 ก. , น.ส.3 ข. ให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้

   ควรไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้อง

–   –  ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่ดิน

–   –  การนำที่ดินของตนไปเป็นหลักประกัน ผู้ต้องหาหรือจำเลย ควรประกันเฉพาะกรณีที่รู้จักและ

        คุ้นเคยกับผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นอย่างดี

–   –  ควรเก็บโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์นี้ไว้ในที่ปลอดภัย อย่าให้หายหรือให้

        ผู้ใดลักไปเพราะอาจถูกปลอมลายมือชื่อนำไปเป็นหลักประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยได้

–   –  เมื่อมีผู้มาขอโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปเป็นหลักประกันผู้ต้องหาหรือ

        จำเลยโดยให้ค่าตอบแทน ควรพิจารณาให้ดีเพราะเมื่อมีการผิดสัญญาประกันที่ดินนั้น อาจถูก

        ขายทอดตลาดได้

–   –  กรณีต้องมีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการใดๆเกี่ยวกับที่ดิน ควรกรอกข้อความในหนังสือ

        มอบอำนาจให้ครบถ้วนชัดเจนและถูกต้องตามความประสงค์ก่อนลงลายมือชื่อในหนังสือมอบ

        อำนาจ และผู้รับมอบอำนาจควรเป็นผู้ที่ไว้ใจได้

–   –  หากมีกรณีที่ต้องนำโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันผู้

        ต้องหาหรือจำเลย เมื่อทำสัญญาประกันแล้วควรติดตามดูพฤติการณ์ของผู้ต้องหาหรือจำเลย

        ว่าหนีหรือจะหลบหนีหรือไม่ หากพบพฤติการณ์ดังกล่าวให้รับดำเนินการตามขั้นตอนของการ

        ถอนประกัน เพื่อขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้น เพื่อจะได้ไม่

        ต้องถูกบังคับตามสัญญาประกันนำที่ดินไปขายทอดตลาด

  ระยะเวลาดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม

   1.  ประเภทที่ไม่ต้องประกาศ เมื่อผู้ขอยื่นคำขอและแสดงหลักฐานต่างๆครบถ้วน ให้ใช้เวลา

ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3.15 ชั่วโมงต่อเรื่อง ( รวมระยะเวลารอสอบสวน )

        2.  ระเภทที่ต้องประกาศหรือขออนุมัติจากผู้มีอำนาจตามกฎหมาย เมื่อประกาศครบให้ทำ

     หนังสือแจ้งผู้ขอภายใน 2 วัน เมื่อผู้ขอมาติดต่อแล้วต้องดำเนินการให้แล้วต้องดำเนินการให้แล้ว

     เสร็จตามที่กำหนดในข้อ 1.

        3.  ประเภทคำขอเบ็ดเตล็ดต่างๆดำเนินการให้เสร็จภายใน 2.30 ชั่วโมง ( รวมระยะเวลารอ

     สอบถาม )

          การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เช่น การนำที่ดินไปซื้อขาย ยกให้ แลกเปลี่ยน

จำนอง ขายฝาก ฯลฯ จะต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด

สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาหรือสำนักงานที่ดินจังหวัด/สาขาส่วนแยกที่ที่ดินตั้งอยู่

      ในกรณีที่ผู้ขอประสงค์ทำนิติกรรมไม่สะดวกในการเดินทางไปยื่นคำขอจดทะเบียนยังพื้นที่

ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่สามารถไปยื่นคำขอจดทะเบียน ณ กรมที่ดินสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือ

สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งใดแห่งหนึ่งได้ เว้นแต่การจดทะเบียนที่ต้องมีการประกาศหรือ

การังวัด

       การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีหนังสือรับรองประโยชน์ ( น.ส.3 , น.ส.3 ก. , น.ส.3 ข. )

จะต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินตั้งอยู่ การทำ

นิติกรรมนั้นจึงจะมีผลตามกฎหมายเว้นแต่ได้ยกเลิกอำนาจนายอำเภอเกี่ยวกับการจดทะเบียน

สิทธิและนิติกรรม จะต้องไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา

ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่

       ในกรณีที่ผู้ขอมีความประสงค์จะขอรับรองราคาประเมินที่ดิน สามารถยื่นคำขอให้ออกหนัง

สือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ต่างสำนักงานที่ดินได้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสาขาทุก

แห่งได้ สำหรับสำนักงานที่ดินอำเภอสามารถออกหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน

สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *