
ภาระจำยอมคืออะไร
ภาระจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิ์ที่ทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่เรียกว่า ภารยทรัพย์ ต้องรับกรรม
บางอย่าง ซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือให้ต้องงดใช้สิทธิบางอย่างในทรัพย์สินของตน
เพื่อประโยชน์ แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์อื่นเรียกว่า สามยทรัพย์ ตัวอย่าง นาย ก. เป็นเจ้าของ
ที่ดินแปลงหนึ่งได้ใช้ทางเดินผ่านที่ดินของ นาย ข. โดย นาย ข. ยินยอม เช่นนี้ สิทธิในการเดิน
ผ่านที่ดินของ นาย ข. นี้เรียกว่าสิทธิภาระจำยอมที่ดินของ นาย ก. เรียกว่า สามยทรัพย์ ที่ดิน
ของนาย ข. เรียกว่า ภารยทรัพย์ การได้มาซึ่งสิทธิภาระจำยอมมีกี่วิธี มีด้วยกัน 3 วิธี คือ
1. โดยนิติกรรมหรือสัญญา คือ เจ้าของภารยทรัพย์ยอมให้สิทธิภาระจำยอมแก่เจ้าของ
สามยทรัพย์โดยการทำสัญญา (นิติกรรม) แต่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่
จึงจะสมบูรณ์
2. โดยอายุความ คือ เจ้าของสามยทรัพย์ได้ใช้ที่ดินของเจ้าของภารยทรัพย์เป็นเวลา 10 ปี
ไม่ว่าที่ดินมีโฉนดหรือ น.ส. 3 ก็ตาม
3. โดยผลของกฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิภาระจำยอม เช่น ผู้ที่ปลูกบ้านรุกล้ำไปในที่ดิน
ของผู้อื่นโดยสุจริต ย่อมได้ภาระจำยอมในส่วนที่ปลูกรุกล้ำ