ค่าธรรมเนียม ภาษีและอากร
– ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
– ภาษีธุรกิจเฉพาะ
– อากรแสตมป์
– ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
– การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ข้อ 1. เงินได้จากการขายหรือโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ดังต่อไปนี้ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1.1 เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยาหรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ทั้งนี้ เฉพาะเงินได้จากการขายในส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น
1.2 เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตร โดยชอบด้วยกฎหมายของตนโดยไม่มีค่าตอบแทน บุตรชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม
1.3 เงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้เฉพาะที่ดินที่ต้องเวนคืน และอสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่ต้องเวนคืน
ข้อ 2. กรณีบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลหรือกองมรดกที่ยังมิได้ แบ่งเป็นผู้ขายหรือผู้โอน จะต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามราคาประเมินทุนทรัพย์ในการเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ดังต่อไปนี้
2.1 สำหรับการขายหรือโอนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้ เหลือเท่าใด ถือเป็นเงินได้สุทธิ แล้วหาร ด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
ในกรณีการขายหรือโอนอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่งซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ให้คำนวณภาษี ณ ที่จ่าย ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่งเฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ในส่วนที่เกิน 200,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ไต่สวนแล้ว
2.2 สำหรับการขายหรือโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจาก 2.1 ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามอัตราที่กำหนดในข้อ 4 เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิ แล้วหารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
การหักภาษีตาม 2.1 และ 2.2 กรณีขายหรือโอนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางค้าหรือหากำไร เมื่อคำนวณภาษีแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาขาย
คำว่า “จำนวนปีที่ถือครอง” ใน 2.1 หรือ 2.2 หมายถึงจำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าเกินสิบปีให้นับเพียงสิบปี เศษของปีให้นับเป็นหนึ่งปี
ข้อ 3. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ขายหรือผู้โอน ให้หักและหรือนำส่งภาษีเงินได้ ในอัตราร้อยละ 1 ของราคาขาย (ทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม) กับราคาประเมินทุนทรัพย์ ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายที่ดิน จำนวนใดสูงกว่าให้ถือจำนวนนั้นเป็นราคาขาย
ข้อ 4. การหักค่าใช้จ่ายตาม 2.2 ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ดังต่อไปนี้
จำนวนปีที่ถือครอง | ร้อยละของเงินได้ |
1 ปี | 92 |
2 ปี | 84 |
3 ปี | 77 |
4 ปี | 71 |
5 ปี | 65 |
6 ปี | 60 |
7 ปี | 55 |
8 ปีขึ้นไป | 50 |
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
1. คำว่า “ขาย” ในการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ หมายความรวมถึง สัญญาจะขาย,ขายฝาก แลกเปลี่ยน,ให้,ให้เช่าซื้อ หรือจำหน่ายจ่ายโอน ไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่
2. การขายอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังต่อไปนี้ เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นทางค้าหรือหากำไรที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
(1) การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดิน
(2) การขายห้องชุดของผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
(3) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อขาย รวมถึงการขายที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคารดังกล่าว
(4) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) เฉพาะกรณีที่มีการแบ่งขายหรือมีการแบ่งแยกไว้เพื่อขาย โดยได้จัดทำถนนหรือ สิ่งสาธารณูปโภคอื่น หรือให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีสิ่งดังกล่าว
(5) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะของนิติบุคคล ตามมาตรา 77/1 แห่งประมวลรัษฎากร
(6) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายใน 5ปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น
3. การจดทะเบียนขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มีดังนี้
(1) การขายที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 และจดทะเบียนขายเกินกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์
(2) การขายหรือการถูกเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
(3) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก
(4) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญที่ผู้ขายมีชื่ออยู่ ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น
ในกรณีที่ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตาม (4) ได้มาไม่พร้อมกัน กำหนดเวลา 5ปี ให้ถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดินหรืออาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง
(5) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่ บุตรชอบด้วยกฎหมายของตน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม
(6) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ทางมรดกให้แก่ทายาทโดยธรรม หรือผู้รับพินัยกรรมซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม
(7) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่มีค่าตอบแทน
(8) การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์กับส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะในกรณีที่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลนั้นมิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นอย่างอื่น นอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนนั้น
4. ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3 ตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือราคาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ แล้วแต่อย่างใดสูงกว่า
( ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2543 – 31 ธันวาคม 2545 ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือกำไร จากอัตราร้อยละ 3.3 ลดลงเหลืออัตราร้อยละ 0.11 )
อากรแสตมป์
กรณีต้องเสียอากรแสตมป์ใบรับ การจดทะเบียนโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทน ต้องเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินในฐานะใบรับ ตามลักษณะตราสาร 28(ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับจำนวนเงินตั้งแต่ 200 บาท ขึ้นไปทุก 200 บาท หรือเศษของ 200 บาท เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
กรณียกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ใบรับ กรณีผู้รับค่าตอบแทนต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
* ตัวอย่างที่ (1) การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือจากการรับให้ (ในเขตฯ) (บุคคลธรรมดา)
* ตัวอย่างที่ (2) การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือจากการรับให้ (นอกเขตฯ)(บุคคลธรรมดา)
* ตัวอย่างที่ (3) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจากมรดกหรือรับให้ (บุคคลธรรมดา)
ตัวอย่างที่ (1) การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือจากการรับให้ (ในเขตฯ) (บุคคลธรรมดา)
1. ข้อมูล
1.1 จดทะเบียนขายเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2541 อสังหาริมทรัพย์ได้มาโดยรับให้เมื่อ พ.ศ.2537 ถือครองมา 5 ปี วันนี้ได้ตกลงโอนในราคา 2,800,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ตามบัญชีกำหนดราคาประเมินฯ เป็นเงิน 2,000,000 บาท
1.2 กรณีได้มาโดยทางมรดก หรือได้รับจากการให้โดยเสน่หา โดยให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้
1.3 บัญชีอัตราภาษีเงินได้ สำหรับบุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิไม่เกิน | 100,000 บาท | ร้อยละ 5 |
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน แต่ไม่เกิน | 100,000 บาท 500,000 บาท | ร้อยละ 10 |
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน แต่ไม่เกิน | 500,000 บาท 1,000,000 บาท | ร้อยละ 20 |
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน แต่ไม่เกิน | 1,000,000 บาท 4,000,000 บาท | ร้อยละ 30 |
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน | 4,000,000 บาท | ร้อยละ 37 |
2.วิธีการคำนวณ
2.1 ทุนทรัพย์ที่ถือเป็นเงินได้ (ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนด) หักค่าใช้จ่าย ร้อยละ 50 (2,000,000 x 50%) | เป็นเงิน 2,000,000 บาท เป็นเงิน 1,000,000 บาท |
2.2 เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (2,000,000 – 1,000,000) | เป็นเงิน 1,000,000 บาท |
2.3 เงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม 2.2 หารด้วยปีที่ถือครอง) (1,000,000) 5 | เป็นเงิน 200,000 บาท |
2.4 ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม 2.3 คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้ฯ) 100,000 x 5% = 5,000 100,000 x 10% = 10,000 | เป็นเงิน 15,000 บาท |
2.5 ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ (ตาม 2.4 คูณด้วยปีที่ถือครอง) 15,000 x5 | เป็นเงิน 75,000 บาท |
ตัวอย่างที่ (2) การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือจากการรับให้ (นอกเขตฯ)(บุคคลธรรมดา)
1. ข้อมูล
1.1 จดทะเบียนขายเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2541 อสังหาริมทรัพย์ได้มาโดยรับให้เมื่อ พ.ศ.2537 ถือครองมา 5 ปี วันนี้ได้ตกลงโอน ในราคา 2,800,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ตามบัญชีกำหนดราคาประเมินฯ เป็นเงิน 2,000,000 บาท
1.2 เฉพาะกรณีมรดกหรือได้รับให้โดยเสน่หา สำหรับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ให้คำนวณภาษีเฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนที่เกิน 200,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น
1.3 ได้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้
1.4 บัญชีอัตราภาษีเงินได้ สำหรับบุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิไม่เกิน | 100,000 บาท | ร้อยละ 5 |
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน แต่ไม่เกิน | 100,000 บาท 500,000 บาท | ร้อยละ 1 |
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน แต่ไม่เกิน | 500,000 บาท 1,000,000 บาท | ร้อยละ 20 |
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน แต่ไม่เกิน | 1,000,000 บาท 4,000,000 บาท | ร้อยละ 30 |
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน | 4,000,000 บาท | ร้อยละ 37 |
2. วิธีการคำนวณ
2.1 ทุนทรัพย์ที่ถือเป็นเงินได้ (ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนด) หักด้วยจำนวนเงินที่ได้รับยกเว้น 2,000,000 – 200,000 หักค่าใช้จ่าย ร้อยละ 50 (1,800,000 x 50) 100 | เป็นเงิน 2,000,000บาทเป็นเงิน 1,800,000 บาท เป็นเงิน 900,000 บาท |
2.2 เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (1,800,000 – 900,000) | เป็นเงิน 900,000 บาท |
2.3 เงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม 2.2 หารด้วยปีที่ถือครอง) (900,000) 5 | เป็นเงิน 180,000 บาท |
2.4 ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม 2.3 คูณด้วยอัตราภาษี) 100,000 x 5 = 5,000 100 80,000 x 10 = 8,000 100 | เป็นเงิน 13,000 บาท |
2.5 ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ (ตาม 2.4 คูณด้วยปีที่ถือครอง) 13,000×5 | เป็นเงิน 65,000 บาท |
ตัวอย่างที่ (3) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจากมรดกหรือรับให้ (บุคคลธรรมดา)
1. ข้อมูล
1.1 จดทะเบียนขายเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2541 อสังหาริมทรัพย์ได้มาโดยซื้อมาเมื่อ พ.ศ.2537 ถือครองมา 5 ปี วันนี้ได้ตกลงโอนในราคา 2,800,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ตามบัญชีกำหนดราคาประเมินฯ เป็นเงิน 2,000,000 บาท
1.2 บัญชีอัตราการหักค่าใช้จ่ายเหมา เฉพาะในกรณีได้มาทางอื่นนอกจากมรดกหรือรับให้
จำนวนปีที่ถือครอง | ร้อยละของเงินได้ |
1 ปี | 92 |
2 ปี | 84 |
3 ปี | 77 |
4 ปี | 71 |
5 ปี | 65 |
6 ปี | 60 |
7 ปี | 55 |
8 ปี ขึ้นไป | 50 |
1.3 บัญชีอัตราภาษีเงินได้ สำหรับบุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิไม่เกิน… | 100,000 บาท | ร้อยละ 5 |
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน แต่ไม่เกิน | 100,000 บาท 500,000 บาท | ร้อยละ 10 |
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน แต่ไม่เกิน | 500,000 บาท 1,000,000 บาท | ร้อยละ 20 |
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน แต่ไม่เกิน | 1,000,000 บาท 4,000,000 บาท | ร้อยละ 30 |
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน | 4,000,000 บาท | ร้อยละ 37 |
2. วิธีการคำนวณ
2.1 ทุนทรัพย์ที่ถือเป็นเงินได้(ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนด) หักค่าใช้จ่าย ร้อยละ 65 (2,000,000 x 65) 100 | เป็นเงิน 2,000,000 บาท เป็นเงิน 1,300,000 บาท |
2.2 เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (2,000,000 – 1,300,000) | เป็นเงิน 700,000 บาท |
2.3 เงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม 2.2 หารด้วยปีที่ถือครอง) (700,000) 5 | เป็นเงิน 140,000 บาท |
2.4 ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม 2.3 คูณด้วยอัตราภาษี) 100,000 x 5 = 5,000 100 40,000 x 10 = 4,000 100 | เป็นเงิน 9,000 บาท |
2.5 ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ (ตาม 2.4 คูณด้วยปีที่ถือครอง) 9,000×5 | เป็นเงิน 45,000 บาท |
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ค่าธรรมเนียม การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวล กฎหมายที่ดินเป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่47 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2597 ดังนี้
(1) ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
(1.1) ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีทุนทรัพย์ เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่คณะกรรมการ กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กำหนด ร้อยละ 2
(1.2) ค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะในกรณีที่ องค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทจำกัด ที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การ บริหารสิน เชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2540 จัดตั้งขึ้น เพื่อดำเนินการบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ โดยความเห็นชอบ ของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับโอนหรือโอนคืน หรือกรณีที่กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการ ก.ล.ต.เป็นผู้รับโอน ให้เรียกตาม ราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่คณะกรรมการกำหนด ราคาประเมินทุน ทรัพย์กำหนด
ร้อยละ 0.01 แต่อย่างสูงไม่เกิน 100,000 บาท
(1.3) ค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะในกรณี ที่มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ หรือมูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นผู้รับโอน หรือผู้โอน เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่ คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กำหนด
ร้อยละ 0.001
(1.4) ค่าจดทะเบียนโอนมรดกหรือให้ ทั้งนี้ เฉพาะใน ระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่ คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กำหนด
ร้อยละ 0.5
(1.5) ค่าจดทะเบียนเฉพาะในกรณีที่วัดวาอาราม วัดบาดหลวงโรมันคาธอลิค หรือมัสยิดอิสลาม เป็นผู้รับให้ เพื่อใช้เป็นที่ตั้งศาสนสถาน ทั้งนี้ ในส่วนที่ได้มารวมกับที่ดินที่มีอยู่ก่อนแล้วไม่เกิน 50 ไร่ เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่ คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กำหนด
ร้อยละ 0.01
(1.6) ค่าจดทะเบียนการจำนองหรือบุริมสิทธิ
ร้อยละ 1 แต่อย่างสูงไม่เกิน 200,000 บาท
(1.7) ค่าจดทะเบียนการจำนองหรือบุริมสิทธิสำหรับ การให้สินเชื่อเพื่อการเกษตรของสถาบันการเงิน ที่รัฐมนตรีกำหนด
ร้อยละ 0.5 แต่อย่างสูงไม่เกิน 100,000 บาท
(1.8) ค่าจดทะเบียนการจำนอง หรือบุริมสิทธิ เฉพาะ ในกรณีที่องค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทจำกัดที่ สถาบันการเงินตามพระราช กฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริม ทรัพย์ พ.ศ.2540 จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการบริหารสินเชื่อ อสังหาริมทรัพย์โดยความเห็นชอบของ ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้ขอจดทะเบียน
ร้อยละ 0.01 แต่อย่างสูงไม่เกิน 100,000 บาท
(1.9) ค่าจดทะเบียนโอนสิทธิการรับจำนอง เฉพาะในกรณีที่สถาบันการเงินรับโอนสิทธิ เรียกร้อง จากการขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีของบริษัท ที่ถูกระงับการดำเนิน กิจการตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 เป็นผู้ขอจดทะเบียน
ร้อยละ 0.01 แต่อย่างสูงไม่เกิน 100,000 บาท
(1.10) ค่าจดทะเบียนการจำนองสำหรับการให้สินเชื่อ เพื่อฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย หรือมหันตภัยอื่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีกำหนด
ร้อยละ 0.01
(1.11) ค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ และค่าจดทะเบียนการจำนองเฉพาะในกรณีที่ คณะ รัฐมนตรีมีมติให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมเป็นพิเศษ เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ร้อยละ 0.01
(1.12) ค่าจดทะเบียนทรัพยสิทธิที่มีค่าตอบแทน ยกเว้นการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ที่มีทุนทรัพย์ตาม (1.1)(1.2)(1.3)(1.4)(1.5) และ (1.6)
ร้อยละ 1
(1.13) ค่าจดทะเบียนการเช่า ร้อยละ 1
(1.14) ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่มีทุนทรัพย์
แปลงละ 50 บาท
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522
ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ก. ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีทุนทรัพย์ เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดินกำหนด
ร้อยละ 2 แต่อย่างต่ำต้องไม่น้อยกว่า 20 บาท
ข. ค่าจดทะเบียนโอนห้องชุดเฉพาะในกรณีที่องค์การ บริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทจำกัด ที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การ บริหาร สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2540 จัดตั้งขึ้น เพื่อดำเนินการบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ โดยความเห็นชอบ ของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับโอนหรือโอนคืน หรือกรณีที่กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะ กรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้รับโอน ให้เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุน ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดินกำหนด
ร้อยละ 0.01 แต่อย่างสูงไม่เกิน 100,000 บาท
ค. ค่าจดทะเบียนโอนมรดกหรือให้ ทั้งนี้ เฉพาะในระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดินกำหนด
ร้อยละ 0.5
ง. ค่าจดทะเบียนการจำนอง หรือบุริมสิทธิ คิดตามราคาที่จำนอง หรือบุริมสิทธิที่จดทะเบียน
ร้อยละ 1
จ. ค่าจดทะเบียนการจำนอง หรือบุริมสิทธิ เฉพาะในกรณีที่องค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทจำกัดที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2540 จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์โดยความเห็นชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้ขอจดทะเบียน
ร้อยละ 0.01 แต่อย่างสูงไม่เกิน 100,000 บาท
ฉ. ค่าจดทะเบียนการเช่า คิดตามค่าเช่า ตลอดเวลาที่เช่า หรือเงินกินเปล่า หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ในกรณีเช่าตลอดชีวิต ให้คำนวณค่าเช่า เท่ากับระยะเวลาการเช่าสามสิบปีเศษของร้อย ตาม ก.ข.ค.ง.จ. และ ฉ.ให้คิด เป็น 100
ร้อยละ 1
ช. ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่มีทุนทรัพย์ ห้องชุดละ 20 บาท
ซ. ค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองห้องชุด เฉพาะในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ลดหย่อน ค่าธรรมเนียมเป็นพิเศษเพื่อ ประโยชน์สาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ร้อยละ 0.01