ค่าธรรมเนียมการโอน

    ค่าธรรมเนียมการโอน

1.  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( หัก ณ ที่จ่าย ) = ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพกร

2.  ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรม ( ค่าโอน ) = 2% จากราคาประเมินของกรม

3.  ค่าจดจำนอง ( กรณีจำนองกับสถาบันการเงิน ) = 1% ของมูลค่าที่จำนอง

     ( จำนวนที่กู้ทั้งหมด )

4.  ค่าอากรแสตมป์ ( ชำระอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างอากรแสตมป์ หรือธุรกิจเฉพาะ )

     = 0.50% ตามราคาซื้อขาย แต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของกรมที่ดิน

5.  ภาษีธุรกิจเฉพาะ ( ไม่ต้องชำระหากถือครองเกิน 5ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน 1ปี)

     = 3.3% ของราคาซื้อขายที่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของกรมที่ดิน

โดยทั่วไปค่าภาษีเงินได้ ผู้ขายควรเป็นผู้ออกส่วนค่าจดจำนอง ผู้ซื้อควรเป็นผู้ออก

ส่วนค่าธรรมเนียม  ส่วนอื่นแล้วแต่ตกลงกันว่าใครจะออกเท่าใด ( จะออกคนละครึ่ง

หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกทั้งหมด ) แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นไม่ได้มีกฎตายตัวว่าใครต้อง

ออกส่วนใดบ้าง ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น ผู้ขายบางราย

อาจให้ผู้ซื้อออกค่าโอนและค่าภาษีทุกอย่าง หรือผู้ขายบางรายอาจเป็นคนออก

ทั้งหมด ( โดยที่ผู้ขายได้บวกค่าโอนต่างๆเหล่านี้ไปในราคาขายแล้ว )

ทั้งนี้ผู้ซื้อและผู้ขายควรตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนต่างๆ ก่อนทำการตกลง

ซื้อขายหรือก่อนทำ สัญญาจะซื้อจะขาย เพราะอาจมีการโต้เถียงเกิดขึ้นได้ในวันโอน

ทางที่ดีควรรวมรายละเอียดค่าธรรมเนียม การโอนไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายด้วยเพื่อ

ป้องกันการโต้ถียงกันภายหลัง

1.      ค่าธรรมเนียมการโอน 2% โดยคิดจากราคาประเมินเท่านั้น

2.      ค่าอากร 0.5% ของราคาซื้อขาย แต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน ถ้าต่ำกว่าให้ใช้

          ราคาประเมินคำนวณ

3.      ค่าภาษีธุริจเฉพาะ 3.3% ของราคาขาย ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะนี้จะคิดกับ

          อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อมาแล้วขายออกไปภายในเวลาไม่เกิน 5ปี ( หากมีการย้าย

          ทะเบียนบ้านเจ้าบ้านเข้าอยู่เกินกว่า 1ปี ได้รับ   ยกเว้นค่าภาษีนี้ ) ทรัพยสินที่เสีย

          ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะนี้แล้วไม่ต้องเสียค่าอากรในข้อ 2.

4.      ค่าภาษีเงินได้ ( ภงด. ) มีการคิดแบบขั้นบันไดภาษีหักค่าใช้จ่ายต่างๆตามจำนวน

          ปีถือครอง ( หลายขั้นตอน) โดยคิดจากราคาประเมินเท่านั้น

5.      ค่าจดจำนอง หากบ้านหรือที่ดินที่ซื้อขายกันไม่ได้ซื้อสด จำนองต่อธนาคารจะเสีย

          ค่าจำนอง 1% ของมูลค่าจำนอง

6.      ค่าอื่นๆ เช่น ค่าคำขอ 20 บาท ค่าอากรตาม(ป.37) 5 บาท ค่าพยาน 20 บาท

การคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆข้างต้นบางข้อค่อนข้างซับซ้อน เช่น ในข้อ 4. ค่า ภงด.จะต้อง

หาราคาประเมินที่ดิน ราคาประเมินสิ่งก่อสร้าง จำนวนปีถือครองแล้วมาหักค่าเสื่อม ฯลฯ

อีกหลายขั้นตอน ลองคิดแบบโดยประมาณคร่าวๆ คือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดยกเว้น ข้อ 5.

ให้คำนวณจากราคาประเมิน คูณ 5%

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *