ข้อแตกต่างจำนองกับขายฝาก
– จำนอง คือ สัญญาที่บุคคลหนึ่งนำทรัพย์สินไปตราไว้แก่เจ้าหนี้เป็นประกันการ
ชำระหนี้ของตนเองหรือบุคคลอื่นก็ได้ โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนอง จึง
ไม่มีประเด็นเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งแตกต่างจากการขายฝาก การขายฝาก คือ
การซื้อขายทรัพย์สิน โดยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากตกไปยังผู้รับซื้อฝาก
โดยทันที และต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายฝากด้วย โดยมีข้อตกลงว่า ผู้ขายฝาก
สามารถไถ่เอาทรัพย์สินที่ขายฝากได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดกันไว้
– การจำนอง ไม่ต้องมีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้
ผู้รับจำนองจะยึดทรัพย์สินที่จำนองโดยทันทีไม่ได้ จะต้องต้องฟ้องบังคับจำนอง
– การขายฝากมีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนการขายฝาก ถ้าผู้ขายไม่ไถ่เวลาไถ่ถอน
ภายในระยะเวลาที่กำหนด ก็ไม่มีสิทธิ์ไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนมา แต่สามารถไปขอ
ขยายระยะเวลาขายฝากได้
– การจดทะเบียนจำนอง จะเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 1 จากมูลจำนอง (วงเงิน
ที่จำนอง) อย่างเดียว ส่วนการขายฝาก นอกจากจะเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2
จากราคาประเมินทุนทรัพย์แล้ว ยังต้องเสียภาษีอากรเหมือนกรณีการซื้อขาย
ที่ดินในกรณีทั่วๆไปอีกด้วย
– ค่าไถ่ถอนขายฝาก อยู่ที่ 1.5% ของยอดสินไถ่
– เวลาจดขายฝาก จำนวนต้นรวมดอกเบี้ยตามระยะเวลา(สินไถ่)ที่จด
– ในการขายฝากจะไม่มีการขึ้นเงินเหมือนการจำนอง จะต้องทำการไถ่ถอนขายฝาก
ก่อนที่จะทำขายฝากครั้งใหม่