การรับมรดกที่ดินจะทำอย่างไร

การรับมรดกที่ดินจะทำอย่างไร

          เมื่อเจ้าของที่ดินหรือผู้มีชื่อในเอกสารเกี่ยวกับที่ดิน ( เช่น โฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 หรือ

น.ส.3 ก. หรือ น.ส. 3ข.) ตายลงไป ที่ดินแปลงนั้นก็จะเป็นมรดกซึ่งจะตกทอดแก่ทายาทของ

ผู้ตาย โดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำไว้

          ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับ

มรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้

1.    ผู้สืบสันดาน ( บุตร , หลาน , เหลน , ลื้อ )

2.    บิดา มารดา

3.    พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

4.    พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน

5.    ปู่ ย่า ตา ยาย

6.    ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ถือเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกร่วมกับทายาทโดยธรรมทั้ง

ลำดับ 6 ลำดับ โดยผู้มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินจะต้องไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินนั้นที่

สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ในกรณีมีเอกสารเป็น น.ส.3 ข. และ

สำนักงานที่ดินอำเภอ ในกรณีมีเอกสารเป็น น.ส.3 , น.ส.3 ก. ถ้าท้องที่ใดที่ได้มีประกาศ

กระทรวงมหาดไทยยกเลิกอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายที่ดิน

แล้ว การรับมรดกที่ดินเกี่ยวกับ น.ส.3 , น.ส.3 ก. , น.ส.3 ข. จะต้องไปขอจดทะเบียนที่สำนักงาน

ที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาที่ดินตั้งอยู่

หลักฐานที่ต้องนำไปประกอบการขอรับมรดก

1.    โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองประโยชน์

2.    หลักฐานการเป็นทายาท เช่น บัตรประจำตัว , ทะเบียนบ้าน

3.    หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น มรณะบัตร

4.    พินัยกรรม (ถ้ามี)

5.    ถ้าผู้ขอ ขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย

6.    ถ้าผู้ขอรับมรดกเป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้าของมรดก หรือหลักฐานการรับรองบุตร

7.    กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

8.    ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง

9.    ถ้าผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้นๆ

ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดก หลักฐานที่ต้องนำไป

1.    คำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาล หรือพินัยกรรมซึ่งตั้งให้ผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก

2.    หลักฐานการตายของเจ้าของมรดก

3.    ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวของผู้จัดการมรดก

4.    โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน

1.    ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท

2.    ค่าประกาศมรดก แปลงละ 10 บาท

3.    ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดก แปลงละ 50 บาท

4.    ค่าจดทะเบียนโอนมรดก ร้อยละ 2 ตามราคาประเมินทุนทรัพย์

5.    ในกรณีโอนมรดกระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ 0.5

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *