การมอบอำนาจ

การมอบอำนาจ

คือ การที่บุคคลที่หนึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการ แทนและการกระทำนั้นมีผลในทางกฎหมาย เสมือนหนึ่งว่าตัวการทำด้วยตนเอง การมอบอำนาจจะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจไป แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย

วิธีการเขียนใบมอบอำนาจ จะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. ให้กรอกเครื่องหมายหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เช่น ตึก บ้าน เรือน โรง ให้ชัดเจน
  2. ให้ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่า มอบอำนาจให้ทำอะไร เช่น ซื้อ ขาย จำนอง ฯลฯ ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษที่เพิ่มเติมก็ระบุไว้ด้วย (อย่าลงลายมือชื่อโดยไม่กรอกข้อความ)
  3. อย่ากรอกข้อความให้ต่างลายมือและใช้น้ำหมึกต่างสีกัน ถ้าใช้พิมพ์ดีด ก็ต้องเป็นเครื่องเดียว กัน
  4. ถ้ามีรอยขูด ตกเติม แก้ไข หรือขีดฆ่า ให้ระบุว่าขีดฆ่า ตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจลงลาย มือชื่อกำกับไว้ทุกแห่ง
  5. อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจก่อนกรอกข้อความโดยครบถ้วนและถูกต้องตามความประสงค์ แล้ว
  6. ให้มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือ ต้องมีพยาน 2 คน พยานต้อง ลงลายมือชื่อจะพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้
  7. หนังสือมอบอำนาจทำในต่างประเทศ ควรให้สถานทูตหรือสถานกงสุล หรือโนตารีบับลิค (NOTARYPUBLIC) รับรองด้วย กรณีที่ผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนของทั้งของฝ่ายโอนและผู้รับโอน ดังนี้ ต้องระบุไว้ในหนังสือ มอบอำนาจด้วยว่า ยินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนของอีกฝ่ายหนึ่งได้ด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *