การซื้อขายที่ดิน

การซื้อขายที่ดิน

การซื้อขาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตร 453 บัญญัติไว้ดังนี้ “อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้กับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สิน นั้นให้แก่ผู้ขาย”

มาตรา 456 บัญญัติไว้ดังนี้ “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไซร้ ท่านว่าเป็นโมฆะ”

ผู้ซื้อแบ่งออกเป็น 2 ประเภท – บุคคลธรรมดา – นิติบุคคล

  1. บุคคลธรรมดา หมายถึง

1.1 บุคคลสัญชาติไทย ที่มีบิดามาดาสัญชาติไทย เวลาซื้อที่ดินต้องนำหลักฐานต่อไปนี้มา แสดง

  • บัตรประชาชน
  • ทะเบียนบ้าน
  • ถ้าคู่สมรสมีสัญชาติอื่น หรือการแปลงสัญชาติไปแสดงด้วย
  • หนังสือยินยอมของคู่สมรส
  • ถ้ามีการหย่าให้นำหลักฐานไปแสดงด้วย

1.2 บุคคลสัญชาติไทยที่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว เวลาซื้อที่ดินต้อง นำหลักฐานต่อไปนี้แสดง

  • หนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดาหรือมารดาไปแสดงด้วย
  • ในกรณีที่บิดามารดาถึงแก่กรรมให้นำสำเนาทะเบียนบุคคลต่างด้าวของบิดามารดา ไปแสดงด้วย
  • คู่สมรสที่มีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ต้องนำหลักฐานไปแสดงด้วย
  • สูติบัตรของผู้ซื้อ
  • ถ้าผู้ซื้อยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้นำหลักฐานทางการศึกษา หลักฐานการประกอบ อาชีพ ของบิดามารดา พร้อมด้วยพยานบุคคลอย่างน้อย 2 คนไปแสดง
  • ทะเบียนทหาร (ส.ด. 9)

1.3 คนสัญชาติไทย ซึ่งได้หย่าหรือเลิกร้างกับคนต่างด้าว ตามที่กล่าวในข้อ 1 หรือ 2 เวลาจะซื้อที่ดินจะต้องมีหลักฐานต่อไปนี้ไปแสดง คือ

  • ทะเบียนหย่า
  • หลักฐานการประกอบอาชีพของผู้ซื้อ

1.4 คนสัญชาติไทย โดยการแปลงสัญชาติ เวลาจะซื้อที่ดินจะต้องมีหลักฐานต่อไปนี้ไป แสดง คือ

  • หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติไทย
  • ทะเบียนบ้าน
  • หนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนชื่อ – สกุล
  • ทะเบียนสมรส
  • ถ้าคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวให้นำหนังสือสำคัญประจำตนของบิดามารดาไปแสดงด้วย
  1. นิติบุคคล

2.1 บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น

  • เอกสารการก่อตั้งนิติบุคคล
  • หนังสือสำคัญการให้อำนาจทำการแทนนิติบุคคล
  • หนังสือบริคณห์สนธิ
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยแสดงสัญชาติและจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นทุกคน ที่นาย ทะเบียนพาณิชย์รับรองแล้วในปัจจุบัน
  • บัตรประจำตัวของกรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคล

2.2 วัด

  • หลักฐานหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดของกรมการศาสนา
  • หลักฐานประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องตั้งวัดในพระพุทธศาสนาหรือสำนัก สงฆ์
  • หลักฐานการได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
  • หลักฐานการแต่งตั้งเจ้าอาวาสหรือผู้รักษาการแทน
  • หลักฐานการเลื่อนสมณศักดิ์เจ้าอาวาส (ถ้ามีการเลื่อนสมณศักดิ์)
  • ต้องแสดงบัญชีจำนวนที่ดินของวัดที่มีอยู่ก่อนแล้วทั้งหมด พร้อมทั้งนำหนังสือ สำคัญแสดงสิทธิในที่ดินที่มีอยู่แล้วทุกแปลง ไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
  • ต้องแสดงจำนวนพระภิกษุ สามเณร รายรับ – รายจ่าย

2.3 มูลนิธิเกี่ยวกับคริสต์จักร

  • หนังสืออนุญาตให้จัดตั้งมูลนิธิ
  • ตราสารการก่อตั้งมูลนิธิ
  • รายชื่อกรรมการของมูลนิธิพร้อมหลักฐานการแต่งตั้งกรรมการ
  • หลักฐานการแต่งตั้งเปลี่ยนแปลงกรรมการฯ ครั้งสุดท้าย
  • ต้องแสดงบัญชีจำนวนที่ดินของมูลนิธิที่มีอยู่ก่อนแล้วทั้งหมด พร้อมทั้งนำหนังสือ สำคัญแสดงสิทธิในที่ดินที่มีอยู่แล้วทุกแปลง ไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย

2.4 มัสยิดอิสลาม

  • หนังสือสำคัญการจดทะเบียนมัสยิดและบันทึกการเปลี่ยนแปลงอิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง)
  • หนังสือแต่งตั้งคณะกรรมการมัสยิด
  • หนังสือแต่งตั้งอิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น
  • มติที่ประชุมกรรมการมัสยิดให้ซื้อที่ดินและมอบหมายให้ผู้ใดเป็นผู้ทำการแทน
  • หนังสือมอบอำนาจของคณะกรรมการมัสยิด
  • แสดงบัญชีจำนวนที่ดินของมัสยิดที่มีอยู่ก่อนแล้วทั้งหมด พร้อมทั้งนำหนังสือ สำคัญแสดงสิทธิในที่ดินที่มีอยู่แล้วทุกแปลง ไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย

2.5 ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและค่าอากรแสตมป์

  • ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท
  • ค่าจดทะเบียนร้อยละ 2 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ เศษของร้อยให้คิดเป็นหนึ่ง ร้อย
  • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 200 บาท หรือเศษของ 200 บาท

2.6 ค่าภาษีเงินได้

  • ตามประมวลรัษฎากร

ขายฝาก

ประเภทการจดทะเบียนนี้ คู่สัญญาจะต้องนำหลักฐานไปประกอบเช่นเดียวกับประเภทขาย

ให้

ให้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 521 บัญญัติไว้ว่า “อันว่าให้นั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น”

มาตรา 525 บัญญัติไว้ว่า “การให้ทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกัน จะต้องทำเป็นหนังสือและจด ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ในกรณีเช่นนี้การให้ย่อมเป็นอันสมบูรณ์ โดยมิพักต้องส่งมอบ”

มาตรา 531 บัญญัติไว้ว่า “อันผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้น ท่านว่าอาจจะเรียกได้ แต่เพียงในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้

  1. ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมาย ลักษณะอาญา หรือ
  2. ถ้าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง หรือ
  3. ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็น เลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้ และผู้รับยัง สามารถจะให้ได้

ผู้ให้

  • โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
  • บัตรประจำตัว
  • ทะเบียนบ้าน
  • ทะเบียนสมรส ในกรณีที่เป็นการให้ระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดานหรือคู่สมรส
  • ถ้ามีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ให้นำหลักฐานไปแสดง

ผู้รับให้

  • บัตรประจำตัว ถ้ามีคู่สมรสให้นำบัตรของคู่สมรสไปด้วย
  • ทะเบียนบ้านของผู้รับให้ทั้งครอบครัว
  • ถ้ามีคู่สมรสและแยกกันถือภูมิลำเนาคนละแห่งต้องแสดงทะเบียนบ้านของคู่สมรส
  • ถ้าผู้รับให้เป็นบุตรที่บิดารับรองต้องมีหลักฐานการรับรองบุตรด้วย
  • ถ้านิติบุคคลเป็นผู้ให้หรือผู้รับให้ ต้องนำหลักฐานเช่นเดียวกับกรณีซื้อขาย

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน

  • ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท
  • ค่าจดทะเบียนร้อยละ 2 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ ถ้าเป็นการให้ระหว่างผู้บุพการีกับ ผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรสเรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ 0.5

ค่าภาษีเงินได้

  • ตามประมวลรัษฎากร
  • ถ้าเป็นการให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนเองโดยไม่มีค่าตอบแทน ได้รับการยก เว้นภาษีเงินได้ (ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม)

จำนอง

หมายความถึงกรณีเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างจดทะเบียนเป็นประกันการกู้ยืมเงินหรือประกัน หนี้ไว้แก่ผู้รับจำนอง ซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจด ทะเบียนก็มี 2 ฝ่าย คือ

ผู้จำนอง หลักฐานที่จะต้องนำไป คือ

  • โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
  • บัตรประจำตัว
  • หนังสือแสดงความยินยอมให้ทำนิติกรรมของคู่สมรส ในกรณีที่ขาดจากการสมรสโดย การหย่าต้องมีหลักฐานด้วย
  • ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องมีหลักฐานการอนุญาตนั้น

ผู้รับจำนอง หลักฐานที่จะต้องนำไป คือ

  • บัตรประจำตัว
  • หนังสือแสดงความยินยอมให้ทำนิติกรรมของคู่สมรส ในกรณีขาดจากการสมรสโดย การหย่า ต้องมีหลักฐาน นิติบุคคล เป็นผู้จำนองหรือผู้รับจำนอง ต้องมีหลักฐานดังนี้
  • หนังสืออนุญาตการก่อตั้งนิติบุคคล
  • หนังสือบริคณห์สนธิ ข้อบังคับ ตราสารจัดตั้ง
  • หลักฐานที่แสดงว่า เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลนั้น

“ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ของกระทรวงการคลัง ในกรณีที่เป็นการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์”

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและค่าอากรแสตมป์

  • ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท
  • ค่าจดทะเบียนจำนองร้อยละ 1 ไม่เกิน 200,000 บาท
  • ค่าจดทะเบียนจำนองสำหรับให้สินเชื่อเพื่อการเกษตรร้อยละ 0.5 ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ค่าอากรแสตมป์ ในกรณีที่คู่สัญญาไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินหรือเบิกเงินเกินบัญชีไว้ แต่ให้ถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินหรือหลักฐานการเบิกเงินเกินบัญชีก็จะต้องปิดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืมหรือตกลงให้เบิกเกินบัญชี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *